หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ   “ดัชนีความเชื่อมั่นประเทศไทย ประจำไตรมาส 3/2552”
                  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)   เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง  ความเชื่อมั่นประเทศไทย
ประจำไตรมาส 3/2552 พบ ความเชื่อมั่นด้านการเมืองมีคะแนนต่ำที่สุดคือ 2.46 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านสังคมและคุณภาพชีวิตได้ 3.43 คะแนน ส่วนความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจแม้จะมีคะแนนสูงกว่า
ด้านอื่นแต่ก็ยังต่ำกว่าครึ่งคือ 3.96 คะแนน ส่งผลให้คะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 3.28 คะแนนจากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน
                  ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของความเชื่อมั่นในแต่ละด้านพบว่า ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทุจริต
คอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุดคือ 2.05 คะแนน ขณะที่ความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งการค้า
และการลงทุนมีคะแนนสูงที่สุดคือ 4.54 คะแนน (โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางที่ 1)
 
             ตารางที่ 1 ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ

 
(เต็ม 10 คะแนน)
1. ด้านการเมือง
2.46
         1.1 ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
2.05
         1.2 ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด
              ชายแดนภาคใต้
2.06
         1.3 ความเชื่อมั่นในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งทาง
              การเมืองและการชุมนุมประท้วง
2.59
         1.4 ความเชื่อมั่นในกระบวนการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไข
              รัฐธรรมนูญ
3.12
2. ด้านการเมือง
3.43
         2.1 ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและ
              อาชญากรรม
2.71
         2.2 ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับ
              ใช้กฎหมาย
3.43
         2.3 ความเชื่อมั่นในความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูล
              ข่าวสารที่เผยแพร่โดยหน่วยงานภาครัฐ
3.56
         2.4 ความเชื่อมั่นในการรับมือกับภัยธรรมชาติและโรคระบาด
4.02
3. ด้านการเมือง
3.96
         3.1 ความเชื่อมั่นในสถานะการเงินการคลังของประเทศ
3.22
         3.2 ความเชื่อมั่นในเรื่องรายได้และการมีงานทำ
4.03
         3.3 ความเชื่อมั่นในความสามารถรับมือกับภาระค่าครองชีพ
4.06
         3.4 ความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว
              แหล่งการค้า และการลงทุน
4.54
เฉลี่ยรวม
3.28
 
 
                  สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อประเทศไทย ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า คะแนน
ความเชื่อมั่นยังคงอยู่ในระดับต่ำทั้ง 3 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมั่นด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนเพียง
2.49 คะแนน สะท้อนมุมมองของประชาชนที่เชื่อว่า  อนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้าปัญหาด้านการเมืองจะยังคงเป็นปัญหา
หลักที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศไทยอยู่เช่นเดิม (ตารางที่ 2)
 
             ตารางที่ 2 ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า

ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ
คะแนนเต็ม 10 คะแนน
1. ด้านการเมือง
2.49
2. ด้านเศรษฐกิจ
3.22
3. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
3.69
เฉลี่ยรวม
3.13
 

                  ส่วน เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย (3 อันดับแรก)
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ได้แก่

อันดับที่ 1 : แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และปัญหาปากท้อง
                 ให้เห็นผลอย่างชัดเจน
ร้อยละ 31.3
อันดับที่ 2 : แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมให้มีความรักสามัคคีกัน ร้อยละ 19.0
อันดับที่ 3 : แก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมืองให้มีความสามัคคี
               และช่วยกันบริหารประเทศ
ร้อยละ 17.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ในประเด็นต่อไปนี้
                           1. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ
                           2. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า
                           3. เรื่องที่เห็นว่าควรมีการดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในทั่วทุกภาคของประเทศ
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการเลือกจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาครวม
9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เชียงราย เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และสตูล
จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,112 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 47.1 และเพศหญิงร้อยละ 52.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว(Face to face interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 11 - 16 กันยายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 29 กันยายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
524
47.1
             หญิง
588
52.9
รวม
1,112
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
287
25.8
             26 – 35 ปี
299
26.9
             36 – 45 ปี
275
24.7
            46 ปีขึ้นไป
251
22.6
รวม
1,112
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
641
57.6
             ปริญญาตรี
387
34.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
84
7.6
รวม
1,112
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
110
9.9
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
267
24.0
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
281
25.3
             รับจ้างทั่วไป
170
15.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
59
5.3
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
225
20.2
รวม
1,112
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776